ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตอบข้อสงสัย วัคซีนโควิด-19
บนสังคมออนไลน์ มีหลากหลายข้อสงสัยเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นการเลือกฉีด บุคคลที่ต้องฉีด และเวลาที่ต้องฉีดวัคซีน ติดตามข้อเท็จจริงเรื่องนี้ กับคุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์
ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ อุดม คชินทร
ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์
Q : วัคซีนโควิด 19 ฉีดตัวไหน ใครต้องฉีด ควรฉีดเมื่อไร รอได้ไหม ?
A : การดูข้อมูล มันมีข้อมูลต้องดูหลายมุม
อย่าเชื่อข้อมูลมุมใดมุมหนึ่ง แล้วท่านตัดสินเลย
อันที่สอง ท่านจะฉีดวัคซีนหรือไม่ ท่านต้องดูตัวเองด้วย
มันเหมาะกับท่านไหม ?
อย่างเช่น ถ้าท่านเป็นคนที่มีโรคภูมิแพ้อย่างรุนแรง
มันก็จะมีความเสี่ยงมากขึ้นแน่นอน ถ้าเทียบกับคนทั่วไป
สอง เป็นโรคร่วมและรุนแรงอยู่ในตัวหรือเปล่า
ซึ่งเรารู้ว่าโรคร่วมที่รุนแรงอยู่ในตัวเนี่ย
จะทำให้โรคมันรุนแรง หรือมีการติดเชื้อในตัวรุนแรง
และมีอัตราตายสูง
Q : ประสิทธิภาพวัคซีนโควิด ต้องมี 2 ช่อง ?
A : เราดู 2 อย่าง วัคซีนเนี่ย
คนเข้าใจผิด ส่วนใหญ่จะบอกว่าดูแค่อันเดียว... ไม่ใช่
หนึ่ง คือ ป้องกันการเกิดโรค หรือ ป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อ
ต้องเรียนแบบนี้ครับว่า ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนตัวไหน
ที่บอกประสิทธิภาพประสิทธิผลอันนี้ได้
เพราะมันยังต้องทำให้ครบตามเวลาที่กำหนด
คือ 1 ปีก่อน ถึงจะบอกได้ แต่ตอนนี้คนเข้าใจผิด
Q : แต่ตอนนี้เรารู้กันแค่ช่องเดียว คือช่องสอง ?
A : ตอนนี้ที่บอกว่าได้ผล 90% 70% คืออันที่สอง
เป็นเป้าหมายที่สองของการฉีดวัคซีน ก็คือ
ป้องกันไม่ให้เกิดอาการรุนแรง และลดอัตราตาย
ซึ่งอันนี้มันเก็บข้อมูล ไม่ต้องรอครบ 1 ปี มันบอกได้เลย
เพราะว่าเรารู้ว่า หลังจากฉีดวัคซีน
โดยเฉลี่ย 4 สัปดาห์ ภูมิต้านทานขึ้นแล้ว ออกฤทธิ์ได้แล้ว
เพราะฉะนั้น เขามีข้อมูลเบื้องต้นตรงนี้อยู่
ฉะนั้นตอนนี้ก็ให้เข้าใจว่า ตัวเลขที่ออกมานี้
ไม่ใช่การป้องกันการติดเชื้อ ไม่ได้ป้องกันการแพร่เชื้อ นั่นคือเป้าที่หนึ่ง
แต่เป็นการบอกเป้าที่สองครับ ลดอาการเจ็บป่วยรุนแรง ลดอัตราตาย
เป้าที่สองหมดเลย ไม่ว่า ไฟเซอร์ โมเดอร์นา แอสตราเซเนกา หรือ ซิโนแวค
Q : แล้วจริง ๆ ใครควรฉีดก่อน ?
A : คือผมอยากให้ดูบริบทตัวเองนะ
ถ้าคุณเป็นคนซึ่งไม่ได้ใช้ชีวิตที่ต้องออกไปติดต่อกับคนมากมาย
โดยลักษณะการทำงานอยู่ในที่ทำงาน
ไม่ได้มีต้องสัมผัสคนอื่นมาก หรือทำงานที่บ้านเป็นหลัก
ซึ่งกลุ่มนี้มีเป็นล้าน ๆ คนนะ
ตอนนี้ ถ้าจะไม่ฉีด ผมว่าโอเค
เพียงแต่ว่า ต้องใช้มาตรการสาธารณสุขให้เต็มที่ ปกป้องตนเอง
ผมว่าโอเคเลย ในความเห็นผม
และอีกอย่างหนึ่งนะ แม้ฉีดมันก็ไม่ได้ 100% ว่าจะป้องกันได้นะ
เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะย้ำก็คือ
การปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุข
ใส่หน้ากากตลอดเวลา เว้นระยะห่าง
ล้างมือบ่อย ๆ ใช้แอลกอฮอล์เจล จะต้องทำตลอด
นี่คือวัคซีนธรรมชาติตัวจริงเลยครับ ที่จะป้องกันได้จริง ๆ
Q : อายุเท่าใดที่ต้องฉีด ?
A : ถ้าเราไปดูข้อมูลทั่วโลก ที่รับรองทั่วโลก
ถ้าต่ำกว่า 18 ปี เราไม่ฉีด เพราะไม่มีข้อมูลเราไม่เคยฉีดเลย
แล้วก็บวกกับข้อมูลว่า เด็กถ้าเป็นจะไม่รุนแรง และส่วนใหญ่ไม่มีอาการ
เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีข้อมูล เราจะไม่ฉีดเลย
ส่วนผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุอย่างที่เรารู้ข้อมูลว่า
ถ้าเป็นแล้วจะรุนแรงและตายเยอะ
อันนี้จึงเป็นข้อกำหนดทั่วโลกว่า เราจะฉีดกลุ่มนี้ก่อน
Q : แต่บางคนก็บอกให้รอดีกว่า ?
A : ที่จริงถ้าโดยหลักการนะ
ประเทศเราเป็นประเทศที่ติดเชื้อน้อยมาก
อัตราตายก็น้อยมากนะ 1.4%
ที่จริงความเห็นผม เราไม่จำเป็นต้องเร่งรีบเลย
เราควรจะรอวัคซีนซึ่งเขาได้ศึกษาทดลองมาอย่างดี
ครบถ้วนตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
หรือทางการแพทย์ให้ครบก่อน ซึ่งมันก็ไม่ได้ช้าเกินไป
ประมาณสิ้นปี 2564 ก็จะได้ข้อมูลครบถ้วน ก็ได้
แต่ถ้าจะฉีด คนกลุ่มเสี่ยง ผมว่าฉีดเถอะ
อย่างบุคลากรทางการแพทย์ ควรให้เขาฉีด
เพราะเขาเป็นด่านหน้า เขาต้องเจอ เขามีโอกาสติดเชื้อเยอะมาก
และถ้าเขาแจ็กพอต ไปอยู่ใน 1.4% แล้วตาย ก็ไม่คุ้มค่า
มีคนถามผมเยอะนะ
“ถ้าวัคซีนมา อาจารย์อุดมจะฉีดไหม ?”
ผมก็บอกอย่างนี้ว่า
ถ้าเป็นของแอสตราเซเนกา หรือ ของซิโนแวค ผมฉีด
แต่ถ้าวัคซีนนี้ทำจาก messenger RNA ผมไม่ฉีดนะ
เพราะเรารู้ว่า มันเป็นวัคซีนซึ่งไม่เคยมีในโลกนี้มาก่อน
Q : เมื่อไหร่สภาวะแบบนี้จะจบสักที ?
A : เมื่อไหร่โควิด-19 จะยุติ มันมี 3 ตัวเลือก
ทางเลือกที่ 1 คือ ให้มีการติดเชื้อ
และมีการสร้างภูมิต้านทานเกิน 70% ของประชากรทั้งโลก
โรคมันจะยุติไปเอง มันจะแพร่ต่อไม่ได้แล้ว
แต่ตอนนี้เรารอไม่ได้ เพราะว่ามันเป็นเยอะมาก มันตายเยอะมาก
ก็มาทางเลือกที่สอง คือ วัคซีน
แต่แค่นี้ไม่พอ การมีภูมิต้านทาน ไม่ได้หมายความว่าจะป้องกันโรคได้
ทางการแพทย์ 1+1 ไม่เท่ากับ 2
ฉะนั้นต้องมาถึงทางที่สาม คือ
เมื่อภูมิต้านทานขึ้นแล้ว มันไปป้องกันโรคได้ไหม
ซึ่งอันนี้จะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี
หลังจากฉีดไปแล้ว ติดตามดูไป
ถึงจะสรุปได้ และรู้ว่ามันจบเฟส 3 จริง ๆ
แหล่งที่มา : ชัวร์ก่อนแชร์ Sure And Share
Link เข้าชม : https://www.youtube.com/watch?v=W0sRWK0Jf04
ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ อุดม คชินทร
ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์
Q : วัคซีนโควิด 19 ฉีดตัวไหน ใครต้องฉีด ควรฉีดเมื่อไร รอได้ไหม ?
A : การดูข้อมูล มันมีข้อมูลต้องดูหลายมุม
อย่าเชื่อข้อมูลมุมใดมุมหนึ่ง แล้วท่านตัดสินเลย
อันที่สอง ท่านจะฉีดวัคซีนหรือไม่ ท่านต้องดูตัวเองด้วย
มันเหมาะกับท่านไหม ?
อย่างเช่น ถ้าท่านเป็นคนที่มีโรคภูมิแพ้อย่างรุนแรง
มันก็จะมีความเสี่ยงมากขึ้นแน่นอน ถ้าเทียบกับคนทั่วไป
สอง เป็นโรคร่วมและรุนแรงอยู่ในตัวหรือเปล่า
ซึ่งเรารู้ว่าโรคร่วมที่รุนแรงอยู่ในตัวเนี่ย
จะทำให้โรคมันรุนแรง หรือมีการติดเชื้อในตัวรุนแรง
และมีอัตราตายสูง
Q : ประสิทธิภาพวัคซีนโควิด ต้องมี 2 ช่อง ?
A : เราดู 2 อย่าง วัคซีนเนี่ย
คนเข้าใจผิด ส่วนใหญ่จะบอกว่าดูแค่อันเดียว... ไม่ใช่
หนึ่ง คือ ป้องกันการเกิดโรค หรือ ป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อ
ต้องเรียนแบบนี้ครับว่า ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนตัวไหน
ที่บอกประสิทธิภาพประสิทธิผลอันนี้ได้
เพราะมันยังต้องทำให้ครบตามเวลาที่กำหนด
คือ 1 ปีก่อน ถึงจะบอกได้ แต่ตอนนี้คนเข้าใจผิด
Q : แต่ตอนนี้เรารู้กันแค่ช่องเดียว คือช่องสอง ?
A : ตอนนี้ที่บอกว่าได้ผล 90% 70% คืออันที่สอง
เป็นเป้าหมายที่สองของการฉีดวัคซีน ก็คือ
ป้องกันไม่ให้เกิดอาการรุนแรง และลดอัตราตาย
ซึ่งอันนี้มันเก็บข้อมูล ไม่ต้องรอครบ 1 ปี มันบอกได้เลย
เพราะว่าเรารู้ว่า หลังจากฉีดวัคซีน
โดยเฉลี่ย 4 สัปดาห์ ภูมิต้านทานขึ้นแล้ว ออกฤทธิ์ได้แล้ว
เพราะฉะนั้น เขามีข้อมูลเบื้องต้นตรงนี้อยู่
ฉะนั้นตอนนี้ก็ให้เข้าใจว่า ตัวเลขที่ออกมานี้
ไม่ใช่การป้องกันการติดเชื้อ ไม่ได้ป้องกันการแพร่เชื้อ นั่นคือเป้าที่หนึ่ง
แต่เป็นการบอกเป้าที่สองครับ ลดอาการเจ็บป่วยรุนแรง ลดอัตราตาย
เป้าที่สองหมดเลย ไม่ว่า ไฟเซอร์ โมเดอร์นา แอสตราเซเนกา หรือ ซิโนแวค
Q : แล้วจริง ๆ ใครควรฉีดก่อน ?
A : คือผมอยากให้ดูบริบทตัวเองนะ
ถ้าคุณเป็นคนซึ่งไม่ได้ใช้ชีวิตที่ต้องออกไปติดต่อกับคนมากมาย
โดยลักษณะการทำงานอยู่ในที่ทำงาน
ไม่ได้มีต้องสัมผัสคนอื่นมาก หรือทำงานที่บ้านเป็นหลัก
ซึ่งกลุ่มนี้มีเป็นล้าน ๆ คนนะ
ตอนนี้ ถ้าจะไม่ฉีด ผมว่าโอเค
เพียงแต่ว่า ต้องใช้มาตรการสาธารณสุขให้เต็มที่ ปกป้องตนเอง
ผมว่าโอเคเลย ในความเห็นผม
และอีกอย่างหนึ่งนะ แม้ฉีดมันก็ไม่ได้ 100% ว่าจะป้องกันได้นะ
เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะย้ำก็คือ
การปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุข
ใส่หน้ากากตลอดเวลา เว้นระยะห่าง
ล้างมือบ่อย ๆ ใช้แอลกอฮอล์เจล จะต้องทำตลอด
นี่คือวัคซีนธรรมชาติตัวจริงเลยครับ ที่จะป้องกันได้จริง ๆ
Q : อายุเท่าใดที่ต้องฉีด ?
A : ถ้าเราไปดูข้อมูลทั่วโลก ที่รับรองทั่วโลก
ถ้าต่ำกว่า 18 ปี เราไม่ฉีด เพราะไม่มีข้อมูลเราไม่เคยฉีดเลย
แล้วก็บวกกับข้อมูลว่า เด็กถ้าเป็นจะไม่รุนแรง และส่วนใหญ่ไม่มีอาการ
เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีข้อมูล เราจะไม่ฉีดเลย
ส่วนผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุอย่างที่เรารู้ข้อมูลว่า
ถ้าเป็นแล้วจะรุนแรงและตายเยอะ
อันนี้จึงเป็นข้อกำหนดทั่วโลกว่า เราจะฉีดกลุ่มนี้ก่อน
Q : แต่บางคนก็บอกให้รอดีกว่า ?
A : ที่จริงถ้าโดยหลักการนะ
ประเทศเราเป็นประเทศที่ติดเชื้อน้อยมาก
อัตราตายก็น้อยมากนะ 1.4%
ที่จริงความเห็นผม เราไม่จำเป็นต้องเร่งรีบเลย
เราควรจะรอวัคซีนซึ่งเขาได้ศึกษาทดลองมาอย่างดี
ครบถ้วนตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
หรือทางการแพทย์ให้ครบก่อน ซึ่งมันก็ไม่ได้ช้าเกินไป
ประมาณสิ้นปี 2564 ก็จะได้ข้อมูลครบถ้วน ก็ได้
แต่ถ้าจะฉีด คนกลุ่มเสี่ยง ผมว่าฉีดเถอะ
อย่างบุคลากรทางการแพทย์ ควรให้เขาฉีด
เพราะเขาเป็นด่านหน้า เขาต้องเจอ เขามีโอกาสติดเชื้อเยอะมาก
และถ้าเขาแจ็กพอต ไปอยู่ใน 1.4% แล้วตาย ก็ไม่คุ้มค่า
มีคนถามผมเยอะนะ
“ถ้าวัคซีนมา อาจารย์อุดมจะฉีดไหม ?”
ผมก็บอกอย่างนี้ว่า
ถ้าเป็นของแอสตราเซเนกา หรือ ของซิโนแวค ผมฉีด
แต่ถ้าวัคซีนนี้ทำจาก messenger RNA ผมไม่ฉีดนะ
เพราะเรารู้ว่า มันเป็นวัคซีนซึ่งไม่เคยมีในโลกนี้มาก่อน
Q : เมื่อไหร่สภาวะแบบนี้จะจบสักที ?
A : เมื่อไหร่โควิด-19 จะยุติ มันมี 3 ตัวเลือก
ทางเลือกที่ 1 คือ ให้มีการติดเชื้อ
และมีการสร้างภูมิต้านทานเกิน 70% ของประชากรทั้งโลก
โรคมันจะยุติไปเอง มันจะแพร่ต่อไม่ได้แล้ว
แต่ตอนนี้เรารอไม่ได้ เพราะว่ามันเป็นเยอะมาก มันตายเยอะมาก
ก็มาทางเลือกที่สอง คือ วัคซีน
แต่แค่นี้ไม่พอ การมีภูมิต้านทาน ไม่ได้หมายความว่าจะป้องกันโรคได้
ทางการแพทย์ 1+1 ไม่เท่ากับ 2
ฉะนั้นต้องมาถึงทางที่สาม คือ
เมื่อภูมิต้านทานขึ้นแล้ว มันไปป้องกันโรคได้ไหม
ซึ่งอันนี้จะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี
หลังจากฉีดไปแล้ว ติดตามดูไป
ถึงจะสรุปได้ และรู้ว่ามันจบเฟส 3 จริง ๆ
แหล่งที่มา : ชัวร์ก่อนแชร์ Sure And Share
Link เข้าชม : https://www.youtube.com/watch?v=W0sRWK0Jf04